FURUKAWA มาตรฐานระดับโลก |
คุณภาพของ FURUKAWA ที่ได้การรับรอง (Proven Quality) | ||||||||||||
Furukawa ได้ผ่านมาตรฐานการรับรองระบบและ Certification ต่าง ๆ เช่น ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, ETL INTERTEK, UL, ANATEL, INMETRO เป็นต้น |
||||||||||||
การเข้าร่วมเป็นสมาชิก (Affiliation) | ||||||||||||
Furukawa ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคม, องค์กร ต่าง ๆ เช่น TIA ,IEEE, BiCSi, FTTH Council, ABNT, Green Building Council เป็นต้น | ||||||||||||
เครื่องหมายการรับประกันคุณภาพสินค้าระดับโลก (Guarantee of quality) | ||||||||||||
ETL Intertek : คือบริษัทชั้นนำด้านการทดสอบและมีห้องปฎิบัติการสำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากลยอมรับในระดับนานาชาติและระดับโลก ด้วยประสบการณ์อันยาวนานกว่า 130 ปี โดยเน้นการทดสอบทางด้านประสิทธิภาพการทำงานและด้านความปลอดภัยของสินค้าต่างๆ เครื่องหมาย ETL เป็นเครื่องบ่งบอกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เป็นไปตามมาตรฐานบังคับทางด้านไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องทุกประการ website :http://www.intertek.com/etl-verified-directory/cabling-products/furukawa-industrial/ ของ Furukawa |
||||||||||||
Underwriters Laboratories (UL) : มาตรฐาน UL เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสินค้าเป็นหลัก เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้าต่างๆ และได้ออกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยมากมาย ภายใต้ชื่อ UL standard มาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและระดับโลก และมีประสบการณ์อันยาวนานกว่า 100 ปี ในการทดสอบสินค้า website : http://www.ul.com ; ตรวจสอบใบรับรอง Communication Cable , Communications Accessories ของ Furukawa |
||||||||||||
การรับประกันคุณภาพด้านต่างๆ (Certifild of Cabling ) | ||||||||||||
โดยในการรับประกันจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การรับประกันด้านประสิทธิภาพการทำงานภายใต้มาตรฐานสากล (Electrical Performance Under International Standard) เช่น ประสิทธิภาพการทำงานตามมาตรฐาน ANSI/TIA-568-C.2 ของสายบิดคู่ตีเกลียว หรือสาย UTP, มาตรฐาน ANSI/TIA-568-C. ของสายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) เป็นต้น 2. การรับประกันด้านความปลอดภัยภายใต้มาตรฐานสากล (Safety Under International Standard) เช่น การลุกไหม้ไฟ, การลามไฟ, UL 444 เป็นต้น |
||||||||||||
|
||||||||||||
การทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตสายสัญญาณ (Safety & Performance Testing in the Wire & Cable Industry) |
||||||||||||
เพื่อเป็นการการันตีคุณภาพของสายสัญญาณและอุปกรณ์ต่อพ่วง ETL Intertek ได้จัดทำโปรแกรมเพื่อรองรับการทดสอบจากโรงงานผู้ผลิตสายสัญญาณและอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ | ||||||||||||
1. รายการสำหรับความปลอดภัย (Listing for Safety) | ||||||||||||
การทดสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยเป็นหนึ่งในการทดสอบสำคัญในมาตรฐานความปลอดภัยของ ETL การทดสอบจะให้ความมั่นใจว่าสายสัญญาณ สามารถจำกัดการลุกลามของเปลวไฟในกรณีที่เกิดไฟไหม้ได้ เป็นการเพิ่มระดับของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, สายสัญญาณที่ได้ตามมาตรฐานจะมีเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อออกจากอาคารได้ทัน ในกรณีที่เกิดไฟไหม้เนื่องจากมีความต้านทานการลามไฟและลุกไหม้ | ||||||||||||
2. การตรวจสอบประสิทธิภาพ (Verification for Performance) | ||||||||||||
การตรวจสอบมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้มีความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจะมีคุณภาพตามที่คาดไว้ การทดสอบประสิทธิภาพนี้ยังสามารถตรวจสอบการทำงานร่วมกันและการดำเนินงานของเครือข่ายที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานได้อีกด้วย | ||||||||||||
มาตรฐานหลักที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพ | ||||||||||||
1. ANSI/TIA-568-C.2 2. ISO/IEC 11801 and other referenced IEC sectional standards 3. EN 50173-1 and other referenced sectional standards 4. IEEE 802.3, Standard for Ethernet |
||||||||||||
นอกจากนี้การตรวจสอบ Verification ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. Ongoing Verified program (การตวรจสอบแบบต่อเนื่อง) เป็นโปรแกรมที่ผู้ผลิตต้องเพิ่มความเข้มงวดในทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อให้สินค้าผ่านการตรวจสอบ โดย ETL จะทำการตวรจตามแผนอย่างต่อเนื่อง และสามารถเข้าสุ่มตวรจที่โรงงานผู้ผลิตโดยไม่แจ้งล่วงหน้าด้วยเช่นกัน 2. One-time Performance Testing (การตรวจสอบแบบครั้งเดียว) เป็นการส่งตรวจเพียงครั้งเดียวโดยไม่มีการตรวจสอบซ้ำหรือสุ่มตรวจแบบต่อเนื่อง |
||||||||||||
ในส่วนของผลิตภัณฑ์สายสัญญาณ และอุปกรณ์ต่อพ่วง แบ่งการตรวจสอบออกเป็น 2 แบบดังนี้ | ||||||||||||
1. การรับรองรายชิ้นส่วน (Component Certification) เป็นการรับรองเฉพาะรายชิ้นเท่านั้นว่าได้มาตรฐาน เช่น การรับรองสาย UTP Cable Multilan Enhanced CAT 5E CMR , Category 5e Keystone Jack , Category 5e Patch Panel เป็นต้น เป็นการทดสอบประสิทธิภาพตามมาตรฐานหลัก เช่น ANSI/TIA-568-C.2 เป็นต้น |
||||||||||||
2. การรับรองทั้งแชนแนล (Channel Certification) เป็นการรับรองการต่อทั้งระบบ เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ใช้สินค้าว่าหลังจากที่นำชิ้นส่วนต่างๆนำมาต่อรวมกันเป็นระบบแล้ว จะสามารถใช้งานได้ตามข้อกำหนด มาตรฐานหลักที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ เช่น ทดสอบตาม ANSI/TIA-568-C.2 ใน Category 5e Channels ด้วยการต่อ 3 Connector Channel ประกอบด้วย 1. Patch Cord, 2. Wall Outlet, 3.Patch Panel, 4.Horizontal Cable CM เป็นต้น หรือ กรณีต่อแบบ 4 Connectors Channel ตามภาพด้านล่าง |
||||||||||||
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ FURUKAWA ได้รับการรับรองทั้งในส่วนของ Verified และ Listed | ||||||||||||
รู้จักมาตรฐานสากลระดับโลก (Standard for Cabling) | ||||
การออกแบบระบบสายสัญญาณที่เป็นมาตรฐานระดับโลกที่นิยมอ้างอิงและนำไปใช้งานนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1. มาตรฐานที่ออกมาจากฝั่งอเมริกา 2. มาตรฐานที่ออกมาจากฝั่งยุโรป แต่ในข้อสรุปโดยรวมแล้วมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อยมีความคล้ายกันสามารถปรับเข้าหากันได้โดยที่ไม่มีปัญหาด้านการใช้งานและการติดตั้ง |
||||
ข้อกำหนดพื้นฐานของมาตรฐานเบื้องต้นดังนี้ | ||||
- ผลิตภัณฑ์ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นอย่างน้อย - ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานช่วยให้ผู้ติดตั้ง สามารถใช้งานได้กับทุกยี่ห้อ ไม่จำกัดว่าต้องใช้เฉพาะเจาะจงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเท่านั้น และสามารถทำงานได้ตามมาตรฐาน - มีการปรับปรุงมาตรฐานใหม่ๆ มาเพื่อใช้งานในอนาคตโดยองค์กรต่างๆ, โรงงาน/ผู้ผลิต และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ทำงานร่วมกัน |
||||
มาตรฐานสากลที่ประเทศไทยใช้งานด้านระบบสายสัญญาณ | ||||
American National Standards Institute (ANSI) : องค์กร ANSI ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นผู้ประสานงานระหว่างองค์กรกําหนดมาตรฐานอื่น ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ANSI ประกอบด้วยสมาชิกมากกว่า 900 องค์กร ทั้งที่มาจากภาคอุตสาหกรรม องค์กรการศึกษา องค์กรการวิจัย องค์กรการคุ้มครองผู้บริโภค และองค์กรภาครัฐ website : http://www.ansi.org/ |
||||
Electronic Industry Alliance (EIA) : สมาพันธ์อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ รับผิดชอบในด้านการกําหนดมาตรฐานสําหรับวงจรไฟฟ้า เช่น การกําหนดขนาดแรงดันไฟฟ้า ความหมายและตําแหน่งของการเชื่อมต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มาตรฐาน RS-232 (serial port) เป็นต้น |
||||
Telecommunications Industry Association (TIA) : สมาคมอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม ประกอบด้วยตัวแทนจากบริษัทโทรคมนาคมต่าง ๆ ที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการนําเสนอความคิดเห็นที่สามารถนําไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ดีในอนาคต ทั้งภายใน ประเทศ และในระดับนานาชาติ และจะทําหน้าที่ในการกําหนดมาตรฐานต่างๆ โดย TIA มักจะควบคู่อยู่กับ EIA จนเรียกว่ามาตรฐานTIA/EIA Website : http://www.tiaonline.org |
||||
International Standardization and Organization (ISO) : จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการกําหนดกฎหมายมาตรฐานระหว่างชาติ ต่างๆ องค์กร ISO ทำหน้าที่ในการหาข้อสรุปให้เป็นมาตรฐานสากลต่อไป เช่น ISO 9001, ISO 14001 เป็นต้น ตัวอย่าง ISO ที่เห็นกันบ่อยๆ เช่น ISO 9000 การจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร ISO 14000 ระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง website : http://www.iso.org |
||||
International Electrotechnical Commission (IEC) : คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นองค์กรอิสระที่ร่วมมือกันจัดตั้งเพื่อกำหนดมาตรฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และทำการจัดทำแบบการประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพ website : http://www.iec.ch/ |
||||
Restriction of Hazardous Substances (RoHS) : เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด website : http://www.rohsguide.com |
||||
มาตรฐานที่ประเทศไทยใช้งานด้านระบบสายสัญญาณ | ||||
ในระบบสายสัญญาณนั้น มาตรฐานสากลที่ถูกใช้งานมากที่สุด รวมทั้งในประเทศไทยด้วยคือมาตรฐาน ANSI/TIA/EIA Standard หรือ TIA Standard ในปัจจุบัน เช่น มาตรฐาน ANSI/TIA-568-C ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด โดยจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ดังนี้ • Generic Telecommunications Cabling for Customer Premises (ANSI/TIA-568-C.0); • Commercial Building Telecommunications Cabling Standard (ANSI/TIA-568-C.1); • Balanced Twisted-Pair Telecommunications Cabling and Components Standards (ANIS/TIA-568-C.2); • Optical Fiber Cabling Components Standard (ANSI/TIA-568-C.3); • Telecommunications Pathways and Spaces (ANSI/TIA-569-C); • Residential Telecommunications Infrastructure Standard (ANSI/TIA-570-C); • Administration Standard Telecommunications Infrastructure (ANSI/TIA-606-B); • Telecommunications Bonding and Grounding (Earthing) for Customer Premises (ANSI/TIA-607-B); • Building Automation Systems Cabling Standard (ANSI/TIA-862-A); • Telecommunications Infrastructure Standard for Data Centers (ANSI/TIA-942-A); • Telecommunications Infrastructure Standard for Industrial Premises (ANSI/TIA-1005-A); |
บริษัทใน กลุ่ม ฟูรูคาวา อิเล็คทริค | ช่องทางบริการด่วน | บริการลูกค้า | |||||||||
Furukawa Electric Co., Ltd. (Japan) | การรับประกันสินค้า | โทร : (662) 105-4057 | |||||||||
Furukawa Electric LatAm (Brazil) | การฝึกอบรม | แฟกซ์ : (662) 632-1080 | |||||||||
OFS Fitel, LLC. (USA) | ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ | อีเมล์ : support@fecsa.co.th | |||||||||
FITEL (Global Site) | ตัวแทนผู้ติดตั้งที่ผ่านการรับรอง | แผนที่ : FECSA | |||||||||
Furukawa Electric Europe Ltd | Follow on Social Media | ||||||||||
Furukawa Electric Communications Southeast Asia Ltd. 191 Silom Complex Building, Unit C, 16th Fl., Silom Road, Kwaeng Silom, Khet Bangrak, Bangkok. 10500 Thailand. Tel : +66 (0) 2-105-4057 Fax: +66 (0) 2632-1080 |